@ติดต่อ mcu_53@hotmail.com@ @ขออภัยกำลังปรับปรุง@

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายงานวิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๖


รายงานทำทั้งห้อง

                                                        

รายงานวิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕



รายงานทำทั้งห้อง

                                                           - ศึกษาหลักการ มหาสติปัฎฐานสูตร มี กี่ อย่าง

                                                           - ธรรมานุปัสสนามข้อที่ ๔ บทที่ ๒

                                                           - กระบวนการเกิดดับรูปนาม

                                                           - แนวปฏิบัติปฏิจสมุบาท

                                                           - โพธิปัตตยธรรมที่ ๓๗ ข้อ

                                                           - หลักการเดินจงกรรมระยะที่ ๑-๕

                                                           - สรุปเนื้อหาสาระ บรรณานุกรม เอกสารอ้างอิง ๗๐ หน้า อย่างน้อย

ภาพกิจกรรม

กลุ่มงารบริหารห้อง/กองงานเลขานุการ


พระมหาจรัญ     ฐิตโสมนสฺโส
หัวหน้าห้องครุศาสตร์ปี 3
(ดูแลกองงานเลขานุการ,กลุ่มงานบริหารงานงบประมาณ)
โทร. 087-1414355  e-mail : charan_54@hotmail.co.th





พระเดี่ยว  อาภสฺสโร
รองหัวหน้าห้องครุศาสตร์ปี 3 รูปที่ 1
(ดูแลกลุ่มงานบริหารงานทั่วไปและกลุ่มงานธุรการ)
โทร. -  e-mail : -






พระมหาเหรียญชัย  พลญาโณ
รองหัวหน้าห้องครุศาสตร์ปี 3 รูปที่ 2
(ดูแลกลุ่มงานวิชาการ)
โทร. -  e-mail : -




พระมหาอาทร  สุเมธี
เลขานุการ

โทร. -   E-MAIL :  -




สามเณรพิชัย  ลิ้มสว่างพูลวัตถุ
ผู้ช่วยเลขานุการ

โทร. -   E-MAIL :  -




กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ

คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ


พระมหาเหรียญชัย  พลญาโณ
หัวฝ่ายงานบริหารงานวิชาการ

โทร. 087-4830201    E-MAIL :  MCU_5339202008@hotmail.com




พระพงศธร  เพชรเทพ
กรรมการ

โทร. -    E-MAIL :  MCU_5339202016@hotmail.com






พระไพศาล  ฐิตโสภโณ
กรรมการ

โทร. -    E-MAIL :  -




พระชาตรี  สิริมงฺคโร
กรรมการ

โทร. -    E-MAIL :  -






พระกิตติ  กิตฺติปญฺโญ
กรรมการ

โทร. 083-5986566  E-MAIL :  MCU_5339202006@hotmail.com




วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชวนคิดชวนทำ


     
            บรรดานักวิจัยค้นพบว่า เมื่ออายุมากขึ้น สมองจะยิ่งพัฒนาและคิดหาวิธีการที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สมองสองซีกเริ่มทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้คนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีสติปัญญาดีและฉลาดหลักแหลม
     
       แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปจะฉลาดหลักแหลมกันทุกคน เพราะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย
     
       อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกที่จะช่วยพัฒนาสมองให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้บุคคลนั้นฉลาด มีไหวพริบ ดูดี และเก่งกล้าสามารถ
     
       ผู้ที่อยากสมาร์ท มีเชาว์ปัญญาฉลาดปราดเปรื่อง ต้องหมั่นลับสมองให้แหลมคม ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
     
       • สิ่งที่ควรทำ
     
       กิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้ ได้พิสูจน์แล้วว่า เมื่อทำเป็นประจำจะช่วยพัฒนากระบวนการคิดให้ดีขึ้น ทำให้คุณคิดอ่านอย่างคล่องแคล่ว และมีไหวพริบเป็นเยี่ยม
     
       1. ปฏิบัติสมาธิ : เพราะมีการวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า การสวดมนต์และทำสมาธิ มิใช่เพียงก่อให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับกระบวนการทำงานของสมองที่เกี่ยว ข้องกับการเรียนรู้ และความเชื่อมโยงกับอารมณ์ทางด้านดีอย่างถาวรอีกด้วย
     
       2. ดูทีวีบางรายการ : เช่น สารคดีต่างๆ หรือเกมโชว์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมรายการและผู้ชมได้ใช้ความรู้ความสามารถและจินตนาการในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมโชว์ด้านวิทยาศาสตร์ รายการเหล่านี้ให้ทั้งความรู้ความบันเทิง ที่ผู้ชมอาจจะนำไปต่อยอดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
     
       3. นอนหลับให้เพียงพอ : แต่ละคืนควรนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมง เพราะเมื่อตื่นนอนจะทำให้สมองปลอดโปร่ง แจ่มใส พร้อมรับวันใหม่ เซลล์ประสาทสมองเชื่อมต่อกันได้ดี ส่งผลดีในเรื่องความจำ
     
       ลองค้นหาจำนวนชั่วโมงนอนที่เหมาะสำหรับตัวคุณ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน
     
       4. ฟังดนตรี : มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า การฟังดนตรีช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะการฟังและสมาธิ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย
     
       5. เรียนภาษาต่างประเทศ : แม้งานวิจัยส่วนใหญ่บอกว่า ให้เริ่มสอนภาษาต่างประเทศแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นเรียนเล็กๆ จึงจะเห็นผลดี
     
       แต่อย่าเพิ่งท้อ เพราะไม่มีคำว่าแก่เกินไปที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด การเรียนรู้ภาษาใหม่จะเพิ่มโอกาสให้สมองสร้างเครือข่ายใยสมองใหม่ๆ ทำให้เฉลียวฉลาดขึ้น
     
       6. ฝึกฝนความจำ : คนขับแท็กซี่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต้องจำถนนหนทางทุกแห่งในเมืองให้ได้ก่อน จึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่
     
       ทีมนักวิจัยพบว่า คนขับแท็กซี่เหล่านี้มีสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (มีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทาง) ใหญ่กว่าคนทั่วไป ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างหนักแน่นระหว่างการฝึกฝนความจำและความเฉลียวฉลาดที่เพิ่มมากขึ้น
     
       7. เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ : คนที่เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้เป็นประจำ นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นการลับสมองให้เฉียบคม ทำให้คิดอ่านได้เร็ว แถมป้องกันการหลงลืมได้ชะงัดนัก
     
       สำหรับคนที่เริ่มต้นฝึกเล่นเกมนี้ ไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ ให้เริ่มจากเกมง่ายๆก่อน เมื่อทำสำเร็จ จึงเปลี่ยนเป็นเกมที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
     
       8. เล่นหมากรุก : เกมหมากรุกช่วยพัฒนาความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง ระยะทางและพื้นที่ อีกนัยหนึ่งคือทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของรูปร่าง (เช่น เวลาที่เราอ่านแผนที่) และไหวพริบด้านตัวเลข รวมทั้งได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหา
     
       • สิ่งที่ควรรับประทาน
     
       โภชนาการที่ดีช่วยให้สุขภาพร่างกายและสมองแข็งแรง อีกทั้งมีการวิจัยที่เผยว่า อาหารบางชนิดช่วยปกป้องสมอง และเพิ่มเชาว์ปัญญา ความฉลาด มากยิ่งขึ้น
     
       1. วิตามินบี : วิตามินบีช่วยในเรื่องความจำและสภาพอารมณ์ เพราะมีงานวิจัยที่พบถึงความเชื่อมโยงระหว่างสภาพอารมณ์ ที่แย่ลงกับการที่ร่างกายขาดวิตามินบีในผู้สูงอายุ
     
       ดังนั้น จึงมีคำแนะนำให้ทานอาหารที่มีวิตามินบีสูง เช่น ธัญพืช กล้วย ถั่วต่างๆ ไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ฯลฯ
     
       2. วิตามินอี : วิตามินอีมีประโยชน์ต่อสุขภาพสมองโดยรวม เพราะมันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอ่อนๆ อีกทั้งยังช่วยลดอาการซึมเศร้าและยืดเวลาการก่อตัวของโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
     
       พืชผักและผลไม้ เช่น ธัญพืชและถั่วต่างๆ ผักใบเขียว มะม่วง กีวี ฯลฯ อุดมด้วยวิตามินอีสูง จึงควรรับประทานเป็นประจำ
     
       3. น้ำสะอาด : ทุกคนรู้ดีว่า การดื่มน้ำส่งผลดีต่อร่างกาย แต่นักวิจัยบางคนบอกว่า จะยิ่งดีไปกว่านั้น หากได้ดื่มน้ำตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องรอจนกระหาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายชุ่มชื้น พร้อมที่จะนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
     
       4. หลีกเลี่ยงสารปรุงแต่ง : งานวิจัยนักเรียน 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาเผยว่า นักเรียนที่ทานอาหารกลางวันปราศจากสารกันบูด สารปรุงแต่งรสและสี ทำคะแนนทดสอบไอคิวได้ดีกว่านักเรียนที่ทานอาหารกลางวันที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวถึง 14%
     
       จึงเป็นการยืนยันว่า การรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ ไม่เพียงส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ยังช่วยยกระดับเชาว์ปัญญาให้ดีขึ้นด้วย
     
       5 .สารต้านอนุมูลอิสระ : ควรทานอาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของโมเลกุลสารอื่นๆในร่างกายได้ ทำให้มีสมาธิ แก้ไขปัญหาได้ดี รวมถึงความจำดีขึ้น
     
       สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ถั่วแดง มะม่วงสุก มะเขือเทศ กล้วยไข่ เป็นต้น
     
       6. อาหารเช้า : ไม่เพียงอาหารมื้อเช้าจะเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวันแล้ว มันยังเป็นมื้ออาหารที่ดีที่สุดของสมองอีกด้วย คนที่ทานอาหารเช้าทุกวัน จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในเรื่องสมาธิ ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมโดยรวม
     
       7. เนื้อสัตว์และปลา : อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไร้ไขมันและปลา คือ แหล่งสารครีเอทีน (เป็นตัวเก็บพลังงานความไวสูง) ชั้นดีของร่างกาย ซึ่งช่วยให้ความจำและสติปัญญาดี มีรายงานว่า บรรดานักกีฬาและนักเรียนนิยมทานอาหารเสริมที่มีครีเอทีนสูง เพื่อให้สุขภาพใจและกายสมบูรณ์แข็งแรง
     
       อย่างไรก็ดี ครีเอทีนที่ได้จากเนื้อสัตว์และปลา มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองของเรามากที่สุด
     
       8. โสม : เป็นอาหารที่บริโภคกันมาช้านานในประเทศแถบเอเชีย เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง และทำให้ความจำดีขึ้น และมีการวิจัยที่ยืนยันว่า การรับประทานโสมช่วยปกป้องสมอง จากโรคระบบประสาทเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย ประกายรุ้ง)

บุคคลผู้ปฏิบัติธรรม


บุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน ?
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติ
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ ชื่อว่าผู้ตั้งอยู่แล้วในผล.
การปฏิบัติอื่นใดนอกเหนือจากนี้ แม้เป็นเวลานานนับ  ๑๐๐  ปี ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติครับ
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ คืออย่างไร ?
ได้แก่

๑.ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค
๒.ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกทาคามีมัคค
๓.ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามีมัคค
๔.ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตมัคค

การปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่า  บุคคลผู้ปฏิบัติ  ในพระพุทธศาสนาครับ
ในเบื้องต้นลองปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติมัคคกันก่อนนะครับ
เพราะเมื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค  ย่อมบรรลุโสดาปัตติผลทันทีครับ
"นั่งตัวตรง  หลับตา  หายใจลึก ๆ  เต็มปอดให้สม่ำเสมอ  มองไปข้างหน้าฝ่าความมืด  เอาแสงสว่างในวงหน้าเป็นที่หมาย  หายใจแรง ๆ ให้สม่ำเสมอ แล้วท่องในใจว่า  สว่างๆๆๆๆ  ให้ต่อเนื่องตามกัน  การหายใจแรง ๆ  เต็มปอดแล้วท่องในใจว่าสว่าง ๆๆ  อย่างนี้เรียกว่า มีวิตก มีวิจาร
ลำดับต่อไป หายใจแรงขึ้น  ให้รู้สึกกระทบเย็นที่ช่องจมูก  กระทบเย็นถึงระหว่างคิ้ว  กระทบเย็นถึงลำคอ
ลำดับต่อไป  หายใจแรง ๆ  ต่อไป  จนกว่าจะรู้สึกเย็นซาบซ่านตั้งแต่ท้ายทอยจนถึงกระหม่อม  รู้สึกเย็นซาบซ่านตั้งแต่ท้ายทอยจนถึงแผ่นหลัง  จนรู้สึกเย็นซาบซ่านไปทั่วตัวตลอดแขนขา  บางคนอาจรู้สึกขนลุก  หรือน้ำตาไหล  หรือตัวสูงตัวพองตัวใหญ่  หรือตัวโยกตัวโคลงตัวสั่น  หรือหมุน  หรือลอย  ใครทำได้อย่างนี้เรียกว่า มีปีติ มีสุข  คือรู้สึกเบาสบายในร่างกาย  อิ่มใจ  แช่มชื่นใจ  ไม่เจ็บไม่ปวดไม่เมื่อย  สุขกายสุขใจ  เบากายเบาใจ
อาการ  ๔  อย่างนี้คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข  เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เกิดพร้อมกันดับไปพร้อมกัน  ดับไปพร้อมกันแล้วเกิดพร้อมกันอีก  คือหายใจแรงต่อไป  ท่องในใจว่าสว่าง ๆๆๆ  ต่อไปไม่เผลอเรอ  มีปีติซาบซ่านขนลุก ฯลฯ ต่อไป  สุขกายสุขใจต่อไป  ใครทำได้อย่างนี้เรียกว่า  มีเอกคตารมณ์  คือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง  คำว่าอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ได้หมายความว่ามีอารมณ์แค่หนึ่งอย่างนะครับ  แต่หมายถึงองค์ธรรมที่เป็นกุศลต่าง ๆ  หลาย ๆ อย่างรวมกันเป็นหนึ่งเดียว  รวมเป็นเนื้อเดียวกัน  ใครทำได้อย่างนี้เรียกว่าบรรลุสมาธิขั้นที่ ๑  เป็นสมาธิขั้นปฐมฌาน"
ขอเสริมนิดหนึ่งนะครับ  คำว่าสมาธิเป็นชื่อรวม  ส่วนฌานเป็นชื่อขั้น ชื่อระดับของสมาธิ  เช่นเดียวกับนักเรียนเป็นชื่อรวม  อนุบาล ๑  ประถม  ๔  มัธยม  5  เป็นชื่อชั้น  เพราะหลาย ๆ  คนเข้าใจผิดว่าฌานอย่างหนึ่ง  สมาธิอีกอย่างหนึ่ง  ที่ถูกต้องสมาธิและฌานคืออย่างเดียวกันครับ  แต่ฌานเป็นชื่อการแบ่งชั้นแบ่งระดับของสมาธิแต่ละขั้นครับ
"ลำดับต่อไปหายใจแรงๆ  แล้วนึกถึงร่างกายของเรา  ท่องในใจว่า ร่างกายๆๆๆๆ  แทนคำว่าสว่าง ๆๆ  มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์เหมือนเดิม  ซาบซ่านขนลุกเหมือนเดิมอยู่ในปฐมฌานเหมือนเดิม  แต่มีร่างกายเป็นอารมณ์แทนแสงสว่าง
เมื่อมั่นดีแล้ว  ลำดับต่อไป  พิจารณาร่างกายนี้โดยความเป็นของไม่งาม  หายใจแรง ๆ  แล้วท่องในใจว่ากายไม่งามๆๆๆๆๆ  มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์เหมือนเดิม  ซาบซ่านขนลุกเหมือนเดิมอยู่ในปฐมฌานเหมือนเดิม  พิจารณาว่าเรานั้นจะต้องตายร่างกายจะต้องเน่าเปื่อยผุพังไป  ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา  เราไม่มีในร่างกาย  ร่างกายไม่มีในเรา  ละสักกายะทิฏฐิ  คือความยึดมั่นถือมั่นในกายนี้ว่าตัวว่าตน  ว่าเราว่าของเราออกไปจากใจ
เมื่อมั่นดีแล้ว  ลำดับต่อไป ใจ  หายใจแรง ๆ  แล้วท่องในใจว่า พุทโธๆๆๆๆๆ  มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์เหมือนเดิม  ซาบซ่านขนลุกเหมือนเดิมอยู่ในปฐมฌานเหมือนเดิม  แล้วทำสัทธาของเราให้มั่นคงในคุณของพระรัตนตรัย  ว่าพระพุทธเจ้านั้นดีจริง  พระธรรมก็ดีจริง  พระอริยะสงฆ์ก็ดีจริง  ให้คุณประโยชน์กับเราจริง ๆ  พระพุทธเจ้าก็คือบุคคลผู้สิ้นราคะ  สิ้นโทสะ สิ้นโมหะด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์เอง  พระธรรมในที่นี้ก็หมายถึงความสิ้นราคะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะ คือพระนิพพานนั่นเอง  พระอริยะสงฆ์ก็คือบุคคลผู้สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง  การปฏิบัติธรรมของเราในขณะนี้ก็เป็นไปเพื่อ ความสิ้นราคะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะ คือพระนิพพานนั่นเอง เชื่อถือเชื่อมั่นตรงนี้ มีสัทธาในตัวเรา  และสัทธาในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ  ไม่ลังเลสงสัย   เรียกว่ากำจัด วิจิกิจฉา ออกไปจากใจ
เมื่อมั่นดีแล้ว  ก็พิจารณาต่อไปว่า  พวกเรานั้นได้เวียนตายเวียนเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน  นับวันเวลาไม่ถ้วน  ชาติใดที่เราก่อเวร ด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  เอาของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้  ประพฤติผิดในกาม  กล่าวมุสาวาท  เสพสิ่งเสพติดมึนเมา  เวรห้าประการนี้แหละ ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง  เปรตบ้าง  อสุรกายบ้าง  สัตว์เดรัจฉานบ้าง  เป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่ขัดสนจนยาก  มีสติปัญญาน้อย  มีอายุขัยสั้น  มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน  นั่นเพราะเราประมาทในศีล  ก่อเวรเอาไว้  แต่ชาติใดที่เราหมั่นให้ทาน  หมั่นรักษาศีล  เจริญเมตตาธรรม  ไม่ประมาทในศีลในธรรม  ในชาตินั้นเราก็ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์และบริวาร  นับแต่ตายเมื่อกายแตก ก็ท่องเที่ยวอยู่แต่โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ และพรหมโลก  มีความสุขอันยาวนาน  นั่นเพราะความไม่ประมาทในศีลในธรรม  ดังนั้นบัณฑิตพึงอบรมจิตให้เป็นไปเพื่อการไม่ก่อเวร  ลำดับต่อไปให้ทุกคนหายใจลึก ๆ  เต็มปอดเต็มท้อง แล้วตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้าในอันที่จะอธิษฐานว่า  นับตั้งแต่นี้ต่อไปพวกข้าพเจ้าทั้งหลายจะไม่ก่อเวร  หายใจแรง ๆ  เต็มปอดเต็มท้องต่อไปแล้วท่องในใจว่า ไม่ก่อเวรๆๆๆๆๆๆ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์เหมือนเดิม  ซาบซ่านขนลุกเหมือนเดิมอยู่ในปฐมฌานเหมือนเดิม"
การหายใจแรง ๆ  เต็มปอดเพื่อความมุ่งมั่น  แล้วอบรมจิตให้เป็นไปเพื่อการไม่ก่อเวร  แล้วเกิดปีติสุขซาบซ่านขนลุกไปทั่วตัว อย่างนี้เรียกว่า  วิปัสสนาจิต  หรือโสดาปัตติมัคคจิต
ถ้าไม่บรรลุโสดาปัตติผล  เรียกว่า  วิปัสสนาจิต  ต้องบำเพ็ญเพียรต่อไปอีกหน่อย
ถ้าบรรลุโสดาปัตติผลตามมา  เรียกว่า  โสดาปัตติมัคคจิตครับ
มีพระธรรมเทศนารับรองดังนี้ครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
             [๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
             โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
             สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
หวังว่าคงพอเป็นแนวทางการปฏิบัติแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ดีนะครับ

คิดอย่างไร ...ให้ใจเป็นสุข



   มีคนถามเสมอๆ ว่า ทำอย่างไรครอบครัวจึงจะอบอุ่น มีความรักให้แก่กัน ปรองดองสมัครสมานกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คำตอบนั้น ง่ายมาก... รักกันซิคุณ!! แต่... 

...คำว่ารักนั้น แม้ว่าบางครั้งจะเหมือนสัมผัสได้ แต่บางครั้งก็เลือนหายไปโดยไม่สามารถที่จะตามหาพบเช่นกัน ที่จริงแล้ว แม้ว่าความรักจะเป็นอารมณ์ที่อยู่เหนือเหตุผล แต่อารมณ์รักนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมจะทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงของอารมณ์รักมีความสุข 


...เช่นเดียวกับการมีอารมณ์ดีที่ทำให้ชีวีเป็นสุข

คนเราทุกคนอยากจะให้คนรอบข้างรัก... โดยเฉพาะคนใกล้ตัว แต่ถ้าอยากจะให้คนรอบข้างรัก ก็ต้องให้ความรักพวกเขาก่อน

จะมีความรักได้ จะให้ความรักคนรอบข้างได้ ก็ต้องมีอารมณ์ดี

อารมณ์ดี อารมณ์แจ่มใส...ใจก็เป็นสุข

อารมณ์แจ่มใส ใจเป็นสุข...ใครๆ ก็อยากใกล้ชิด

อารมณ์จะแจ่มใส ใจจะเป็นสุขได้... ก็ต้องมีความคิดในทางบวก คิดในทางสร้างสรรค์..ที่เรียกกันว่า คิดดี นั่นเอง

แท้จริงแล้ว การคิดดีนั้น เป็นกุศโลบายที่ทำให้ตนเองเป็นสุขนั่นเอง และเมื่อตัวเองมีความสุขเพียงพอแล้ว ก็ย่อมคิดอยากจะให้คนอื่นเป็นสุขตามไปด้วย

ถ้าทุกคนเริ่มมองคนรอบข้างในแง่ดี ตนเองก็จะเริ่มมีรังสีของความเมตตาแผ่ออกไป... แทนที่จะเป็นรังสีอำมหิต

เคยลองพิจารณาตัวเองกันดูบ้างไหมว่า ทำไมเดี๋ยวนี้คิดกันในทางร้าย คิดแต่ในแง่ร้าย มองคนรอบข้างในแง่ลบเสมอไป

... เป็นเพราะสังคมไทยเรากำลังป่วย

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารชนิดใดที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นข่าวไม่ดี เป็นข่าวที่ทำให้คนได้รับข่าววิตกทุกข์ร้อน และเมื่อชีวิตประจำวันได้รับแต่สิ่งไม่ดีเหล่านี้แล้ว ถือเหมือนกับการสะกดจิตหรือล้างสมองให้มีแต่ความคิดในทางร้าย ระแวง ไม่เชื่อใจ สงสัย ไม่ไว้วางใจ... แม้กระทั่งคนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด

ลองถามตัวเองกันบ้างไหม... ว่าคุณไว้วางใจคู่ครองของคุณมากเพียงใด

และทำไม คุณถึงไม่ไว้ใจ... ไม่คิดถึงในทางที่ดี

คำตอบง่ายมาก... เพราะสังคมของเราป่วย

สื่อมวลชนอาจจะบอกว่า พวกเขามีหน้าที่ที่จะต้องเสนอข่าวความเป็นจริงให้ปรากฏ และในยุคนี้ทุกอย่างจะต้องโปร่งใส... ซึ่งก็ถูกต้อง

...แต่ผิดคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า!!

พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสอะไรที่ไม่เป็นความจริง แต่ถ้าความจริงนั้น จะทำให้ผู้ได้รับฟังได้รับความวิตกทุกข์ร้อนแล้ว พระองค์ไม่เคยตรัส

พระองค์ท่านตรัสแต่สิ่งที่ดีงาม ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับฟังเสมอ

คนเรานั้น ไม่จำเป็นจะต้องพูดทุกอย่างที่ตนรู้... แต่จะต้องรู้ทุกอย่างที่ตนพูด

เราคงจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่ป่วยของเราได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม คือ 'ครอบครัวของเรา' ได้ก่อน

และเมื่อเราทุกคนทำให้ครอบครัวของเรามีแต่ความรัก ความอบอุ่น ความผูกพันและความเข้าใจกันแล้ว สังคมของเราก็จะเริ่มดีขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุด

มาคิดดี...พูดดี และทำดี ต่อคนที่เรารักกันเถิด

ที่ควรจะเริ่มเป็นอันดับแรกก็คือ ...การคิดดี ซึ่งทำได้ไม่ยากเลย ถ้าตั้งใจว่าจะลองทำดู และจะพยายามทำให้ความฝันกลายเป็นความจริง

1.เริ่มจากคิดดีแก่ตนเองก่อน

ให้เวลาแก่ตนเองบ้าง ปลีกเวลาออกจากสังคมที่ป่วยบ้างเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันหยุดต่อเนื่อง ทำงานให้น้อยลงบ้าง หัดปฏิเสธงานบางอย่างบ้าง อย่าคิดว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่จะทำได้ คนอื่นเขาก็อาจจะทำได้ ถ้าเปิดโอกาสให้เขาทำ เมื่อคุณเริ่มมีเวลาแล้วก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการจะคิดดี... เช่น คิดดูแลตนเอง รักษาสุขภาพให้ดี ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน ย่อมจะทำให้อารมณ์ดี และชีวีเป็นสุข

2.มองคนรอบข้างในแง่ดี 

การมองคนรอบข้างในทางที่ดีนั้น จะทำให้บรรยากาศที่อยู่นั้นผ่อนคลายหายเครียด เป็นสุข ไว้ใจกัน และเข้าใจกัน อย่าลืมว่าคนเราส่วนใหญ่ ไม่ได้อยากจะเกิดมาเป็นคนร้ายเสมอไป ยิ่งคนใกล้ตัวของคุณแล้ว ถ้าเขาหรือเธอไม่ดี คุณจะรับรักและมาใช้ชีวิตเป็นคู่ครองหรือ แล้วทำไมเมื่ออยู่ด้วยกันนานไปๆ จึงมองเห็นแต่สิ่งไม่ดีงามของกันและกัน ตอบตัวเองได้ไหม ว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น?? ถ้าพลันคิดได้เมื่อไร ครอบครัวจะเป็นสุขขึ้นมาทันทีเลย

เคยไปถามลุงป้าคู่หนึ่ง ซึ่งชอบท่องเที่ยวทัศนาจรเหมือนผมว่า ทำไมแก่เฒ่าป่านนี้แล้ว ก็ยังรักกันอยู่หวานแว๋ว จนหนุ่มสาวทั้งหลายที่ได้เห็น เกิดการอิจฉาริษยา ท่านตอบว่า เพราะเราสองคนเป็นคนขี้ลืม จำไม่เคยได้เลยว่า อีกคนทำอะไรไม่ถูกใจ จำได้เฉพาะว่าอีกคนทำอะไรที่ถูกใจบ้าง เมื่อเราจำได้เฉพาะความดีงามของคู่ครองแล้ว ใจของเราก็จะเป็นสุข หน้าตาของเราก็จะแจ่มใส และอายุก็จะยืนยาว

วันนี้คุณเริ่มต้นด้วยการคิดถึงคนรักคู่ครองของคุณในทางดีสักหนึ่งอย่าง และเพิ่มความดีนั้นไปเพียงวันละอย่าง ตัดความคิดที่ไม่ดีออกไปวันละอย่าง ไม่นานคุณก็จะมีคนรักคู่ครองที่คิดดีและทำดี

3.ไม่เป็นคนขี้ระแวง 

...ต้องตัดความคิดเรื่องระแวงแคลงใจออกจากตัวเองให้เร็วที่สุด มากที่สุด สิ่งแรกที่คุณควรจะทำก็คือ การเลิกรับข่าวสารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เลิกอ่านหนังสือพิมพ์ที่เขียนข่าวแต่ในทางร้าย เลิกฟังวิทยุหรือชมรายการโทรทัศน์ที่ไม่ประเทืองปัญญา แล้วยังยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความไม่สมานสามัคคีในสังคม ...แล้วความเป็นคนขี้ระแววของคุณจะลดลง โดยคุณไม่รู้ตัว

4.พาตัวให้ห่างคนที่คิดในแง่ร้าย 

มีคำกล่าวมาตั้งแต่โบราณแล้วว่า คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

พยายามหลีกตัวหนีห่างจากการคบหาสมาคมกับคนที่มองโลกในแง่ร้าย คนที่ขี้อิจฉา ริษยา คนขี้ระแวง พวกเหล่านี้เป็นกาลกิณีของชีวิต และจะนำพาชีวิตของคุณให้ต่ำลง จนจมไปในวังวนของการมองโลกในแง่ร้าย

จริงอยู่ เราไม่สามารถที่จะเลือกคบกับใครได้ตามใจของเรา แต่เราสามารถที่จะเลือกคบกับใครให้สนิทใจได้ บางคนเราอาจจะคบเพียงผิวเผิน บางคนเราก็ควรจะคบให้ลึกซึ้ง และคนที่ควรจะคบให้ลึกซึ้ง ก็คือคนที่มองโลกในแง่ดี และคิดทุกอย่างในทางสร้างสรรค์ ไม่เห็นแก่ตัว และคิดดีต่อคนรอบข้าง

5.เอาใจเขามาใส่ใจเรา 

เมื่อมีคู่ครองและมีชีวิตคู่แล้ว เคล็ดลับในการครองคู่ที่สำคัญที่สุดก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่าเอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ พยายามคิดในทางที่ดีถึงการกระทำของคู่รักคู่ครองว่า หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกันในความผิดพลาด หรือไม่ได้ตั้งใจ อย่าพยายามทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ต้องพยายามทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก อย่าเกี่ยงกันว่า ให้อีกคนทำตามใจเราก่อน แต่พยายามทำอะไรให้คนใกล้ตัวเกิดความประทับใจ คิดว่าทำแบบนี้แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรบ้างแก่กันและกัน ไม่คิดถึงอารมณ์ของตนเองเป็นใหญ่ แต่พยายามควบคุมอารมณ์ให้แจ่มใส มองในทางที่สร้างสรรค์

6.คิดก่อนพูด 

หลายต่อหลายคนที่ชีวิตคู่ต้องอับปางลง ส่วนหนึ่งเกิดจากพูดก่อนที่จะคิด พูดด้วยอารมณ์ พูดด้วยความมันสะใจ พูดเพราะอยากให้อีกคนได้รับรู้ถึงความโกรธแค้น อาฆาตพยาบาท พูดส่อเสียด พูดจากประชดประชัน ฯลฯ เหล่านั้นเรียกว่า ปากเป็นกาลกิณี ขอให้เลิกประเภท...ปากพาไปให้เร็วที่สุด แล้วให้คิดก่อนพูด จำไว้เสมอๆ ว่า การจะมีความรักให้ต่อกันอย่างยั่งยืนยาวนาน ไม่จำเป็นจะต้องพูดทุกอย่างที่รู้ (ซึ่งอาจจะไม่เป็นความจริงทุกเรื่องเสมอไป) แต่จะต้องรู้ทุกเรื่องที่จะพูดออกไปว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังหรือตัวเองหรือไม่

7.อย่าใช้อารมณ์คิด 

ต้องใช้ความคิดในทางที่เป็นเหตุและผล โดยเฉพาะต้องมองเหตุการณ์ทุกอย่างในชีวิตว่า เป็นเพราะเหตุใด จึงเกิดผลของการกระทำนั้น และถ้าปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างแล้ว ต้นเหตุที่ไม่ดีงามอาจจะหายไป และผลดีต่างๆ ก็น่าจะตามมาแทนที่ เวลาที่กำลังมีอารมณ์ไม่ดี อารมณ์ขุ่นมัว อย่าใช้ความคิด ให้หาทางไปพักผ่อนให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ไม่ว่าจะไปเล่นกีฬา พักผ่อน ฟังเพลงสบายๆ หาบรรยากาศดีๆ สงบๆ ให้เกิดความผ่อนคลาย ก็ได้ทั้งสิ้น การใช้ความคิด ในขณะที่จิตใจสงบ ในบรรยากาศดีๆ นั้น ความคิดที่ออกมาจะเป็นไปในทางที่ดีเสมอไป

เห็นไหมว่า แค่คิดแต่เรื่องดี... ชีวีก็จะเป็นสุขแล้ว

นโยบายคณะครุศาสตร์

       

          ๑. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเป็นสากล และเป็นที่ยอมรับในสังคมตามมาตรฐานวิชาชีพ

         ๒. พัฒนาบุคลากรของคณะครุศาสตร์ให้มีคุณภาพเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพและ
พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

         ๓. ส่งเสริมให้บุคลากรคณะครุศาสตร์เป็นต้นแบบทางการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถพัฒนาให้นักศึกษา
สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักคิด และ มีทักษะในการสอน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ต่อไป

         ๔. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะการทำงาน ทักษะชีวิต สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต

         ๕. สนับสนุนให้คณาจารย์ทุกสาขาวิชาและนักศึกษาทุกโปรแกรมวิชาทำการวิจัย เพื่อพัฒนา องค์ความรู้และรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตามยุทธศาสตร์ของชาติ

         ๖. ขยายการจัดการศึกษาสู่ชุมชนตามโอกาสโดยใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัย ตามปณิธาน ของการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยเน้นที่คุณภาพเทียบเท่ากับในมหาวิทยาลัย

        ๗. ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อทำนุบำรุง ส่งเสริมและสืบสานศิลปวัฒนธรรม

        ๘. ร่วมมือกับโรงเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการจัดการศึกษาให้แก่เยาวชน เพื่อสร้างบุคลากรที่เอื้อ
ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ

        ๙. การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร การทำงานของคณาจารย์ และจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

       
         ๑. ผลิตบัณฑิตทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีคุณลักษณะ
การเป็นครูดี มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตสำนึกและศรัทธาในวิชาชีพครู มีทักษะในการจัดการ สามารถเลือกใช้ภูมิปัญญา
และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม มีองค์ความรู้ ด้านวิชาชีพครู ตามมาตรฐานสากล

         ๒. พัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาตามความต้องการของชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมวิทยฐานะครู
สู่การเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานสากล

         ๓. วิจัยและพัฒนาศาสตร์ทางด้านการเรียนการสอนตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตาม พ.ร.บ. 
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมทั้งการบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

         ๔. บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมตามมาตรฐานสากลในวิชาชีพที่รับผิดชอบ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ในการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน

         ๕. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสืบทอดขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ที่ดีงาม

พันธกิจ


 ๑.
ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
๒.
พัฒนาครูประจำการในด้านวิชาชีพและวิชาการ

๓.
สนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ทำการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาวิชาการ
และวิชาชีพครู
๔.
ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์/นักศึกษาจัดกิจกรรมทำนุบำรุง และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

๕.
บริการวิชาการในเชิงธุรกิจสัมพันธ์

วิสัยทัศน์


       คณะครุศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขาการศึกษาที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาครู

และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรฐานสากลของวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพสามารถแข่งขันในระดับชาติ
และระดับนานาชาติได้

ปรัชญาของคณะครุศาสตร์



“ สร้างครูดี มียุทธศาสตร์ ฉลาดใช้ภูมิปัญญา มุ่งพัฒนาสู่ความเป็นสากล ”

ประวัติคณะครุศาสตร์



     คณะครุศาสตร์มีประวัติความเป็นมาโดยสืบทอดมาจากโรงเรียนการเรือนพระนคร ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรอบรมครูการเรือน
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ จากประวัติอันยาวนาน ๗๓ ปี (ปัจจุบัน ๒๕๕๔) คณะครุศาสตร์ มีวิวัฒนาการในฐานะหน่วยงาน
ที่มุ่งมั่นรับใช้สังคมและให้บริการด้านการจัดการศึกษา ตามภารกิจหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ในบริบทของชุมชน สังคมเมือง โดยมีพัฒนาการตามลำดับดังต่อไปนี้       คณะครุศาสตร์เริ่มต้นมาจากการสอนวิชาหมวดการศึกษาโรงเรียนการเรือนพระนคร และพัฒนามาเป็นลำดับดังนี้
             ปีการศึกษา ๒๔๘๑ โรงเรียนการเรือนพระนคร สอนหลักสูตรอบรมครูการเรือน
             ปีการศึกษา ๒๔๙๙ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) สาขาคหกรรมศาสตร์
             ปีการศึกษา ๒๕๐๑ เปิดสอนประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.ชั้นสูง) สาขาคหกรรมศาสตร์ และอนุบาลศึกษา
             ปีการศึกษา ๒๕๑๗ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาการประถมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา
             ปีการศึกษา ๒๕๑๘ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกคหกรรมศาสตร์
             ปีการศึกษา ๒๕๒๑ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ๗ โปรแกรมวิชา และเปิดสอนเพิ่มในปีการศึกษาต่อไป
             ปีการศึกษา ๒๕๒๗ หมวดวิชาการศึกษาเปลี่ยนเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ ๒)
เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ๑๒ โปรแกรมวิชา
                    ๑. โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
                    ๒. โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ
                    ๓. โปรแกรมวิชาพลศึกษา
                    ๔. โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
                    ๕. โปรแกรมวิชาภาษาไทย
                    ๖. โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
                    ๗. โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์
                    ๘. โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
                    ๙. โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
                  ๑๐. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ
                  ๑๑. โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์
                  ๑๒. โปรแกรมวิชาศิลปกรรม
            ปีการศึกษา ๒๕๓๘ คณะวิชาครุศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็นคณะครุศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ
เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ๑๓ โปรแกรมวิชา โดยเปิดสอนโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา เพิ่ม ๑ โปรแกรมวิชา
            ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพครู (๒๔ หน่วยกิต)
            ปีการศึกษา ๒๕๔๓ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (๒๗ หน่วยกิต)
            ปีการศึกษา ๒๕๔๔ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ๔ โปรแกรมวิชา
                  ๑. โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ
                  ๒. โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
                  ๓. โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
                  ๔. โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์
            ปีการศึกษา ๒๕๔๕ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ๒ โปรแกรมวิชา
                  ๑. โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ
                  ๒. โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
            ปีการศึกษา ๒๕๔๘ - เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ๕ ปี) ๒ โปรแกรมวิชา ได้แก่
โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัยและโปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่คณะ
มีความพร้อมมากที่สุดเพราะมีโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศเป็นห้องปฏิบัติการให้กับโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัยและ
มีศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นห้องปฏิบัติการให้กับโปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ
           - เปิดให้บริการวิชาการโครงการพัฒนาครูประจำการให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา และร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัยดำเนินโครงการพัฒนาผู้บริหารประจำการให้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิต
บริหารการศึกษา
           ปีการศึกษา ๒๕๔๙ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวัฒนธรรมไทยและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับครูต่างประเทศ
เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น จำนวน ๒๐ ชั่วโมง การพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวเป็นผลจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติ
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
            พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งกำหนดให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุม ข้อกำหนดดังกล่าวครอบคลุมถึงกลุ่มครูต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทย ในระดับที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา ครูชาวต่างประเทศ
ที่ทำการสอนในประเทศไทยจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จึงจะทำหน้าที่เป็นผู้สอนได้
            คณะครุศาสตร์ได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวัฒนธรรมไทยและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับครู
ชาวต่างประเทศ หลักสูตรดังกล่าวผ่านการเห็นชอบและรับรองหลักสูตรโดยองค์กรควบคุมวิชาชีพครู (คุรุสภา)
เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐
            ปีการศึกษา ๒๕๕๐ คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการโครงการอบรมหลักสูตรวัฒนธรรมไทยและจรรยาบรรณวิชาชีพ
สำหรับครู ชาวต่างประเทศ (๒๐ ชั่วโมง)
            ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต การศึกษาปฐมวัย (หลักสูตร ๕ ปี) พัฒนาหลักสูตร
ประกาศนียบัตร บัณฑิตวิชาชีพครู ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ฯ และพัฒนาหลักสูตรโครงการพัฒนาครูประจำการ
ให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาเป็นหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๕ ปี ตามอัตลักษณ์ของคณะฯ และมหาวิทยาลัยฯ
            ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต การศึกษาปฐมวัย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
หลักสูตรโครงการพัฒนาครูประจำการให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา การศึกษาปฐมวัย
และหลักสูตรโครงการพัฒนาผู้บริหารประจำการให้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิต บริหารการศึกษา


วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายงานกฎหมาย

ให้นิสิตแบ่งเป็นกลุ่ม ๒ กลุ่ม 

๑. กลุ่มเลขที่คี่

หาข้อมูล พ.ร.บ  การศึกษาภาคบังคับ ๒๕๔๕

๒. กลุ่มเลขคู่

หาข้อมูล พรบ. มจร.


ประกาศ ณ วันเสาร์ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕


พระมหาจรัญ  ฐิตโสมนสฺโส
หัวหน้าห้องครุศาสตร์ ปี  ๓

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร



ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร

                ความหมายของหลักสูตร 
                ความหมายของหลักสูตรของนักการศึกษาบางท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
                ธำรง บัวศรี  (2542) ได้กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงประสบการณ์ทางการศึกษาที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการฝึกฝนอบรมในด้านต่างๆอย่างดีที่สุด จนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของตนได้อย่างเป็นสุข

                กรมวิชาการ (2540) ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ใน 2 ลักษณะ คือ ควมหมายในวงกว้างและความหมายในวงแคบ ความหมายในวงแคบ หมายถึง วิชาหรือเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เรียนในแต่ละชั้นเรียนว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด ความหมายในวงกว้าง หมายถึง ประสบการณ์ทั้งมวลที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ความรู้ มีทักษะ เกิดความคิดและทัศนคติที่ดี อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

                Carter V. Good (1973) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ คือ ประการแรก
หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาสำเร็จ ได้รับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา ประการที่สอง หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงทั่วไปของเนื้อหาวิชาหรือสิ่งเฉพาะที่ต้องสอนซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้มีความรู้จบชั้นหรือรับประกาศนียบัตรเพื่อให้สามารถเข้าเรียนต่อในทางอาชีพต่อไป และประการสุดท้าย หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียน ภายใต้การแนะนำของโรงเรียน

                Saylor และ Alexander (1974 อ้างถึงใน ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์, 2539) ได้กล่าวถึงหลักสูตรไว้ว่า เป็นแผนสำหรับจัดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่ตั้งไว้โดยมีโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ

                จากความหมายของหลักสูตรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงพอสรุปความหมายของหลักสูตร ได้ว่า หลักสูตรมีความหมายครอบคลุมตั้งแต่เอกสาร แนวทางการจัดการศึกษาแต่ละระดับ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มวิชา ขอบข่ายของเนื้อหา โครงสร้าง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและรวมถึงมวลประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หรือบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นๆ

ความสำคัญของหลักสูตร

                สุมิตร คุณานุกร (2523) กล่าวถึง ความสำคัญของหลักสูตรดังนี้ การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ การจัดการศึกษาที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น หากปราศจากหลักสูตรเสียแล้วการจัดการศึกษาจะไม่มีวันสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น หลักสูตรจึงมีความสำคัญ คือ เป็นแผนยุทธศาสตร์ของการศึกษาที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามต้องการ

                สันต์ ธรรมบำรุง(2527) กล่าวว่า ความสำคัญของหลักสูตร พอสรุปได้ดังนี้
1.             หลักสูตรเป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้ทางปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
2.             หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนร่วมของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาของชาติ
3.             หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เป็นบัญญัติของรัฐบาลเพื่อให้บุคคลที่ทำการเกี่ยวข้องกับการศึกษาปฏิบัติตาม
4.              หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนใสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ฯลฯ ของการศึกษาของรัฐแก่สถานศึกษาด้วย
5.             หลักสูตรเป็นแผนดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา ที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุมดูแลติดตามผลให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐด้วย
6.             ลักสูตรจะกำหนดแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
7.             หลักสูตรจะกำหนดลักษณะและรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในรูปใด
8.             หลักสูตรจะกำหนดแนวทางความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นการพัฒนากำลัง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
9.             หลักสูตรเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศใดจัดการศึกษาโดยมหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลง ย่อมได้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพสูง


                อัญชลี สารรัตนะ (2544) ได้สรุปถึงความสำคัญของหลักสูตรในประเด็นต่างๆดังนี้
1.             หลักสูตรเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมกรเรียนการสอนของครูผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนจนบรรลุตามจุดหมายองหลักสูตรที่กำหนดไว้ อีกทั้งครูผู้สอนยังได้แนวทางในการกำหนดจุดประสงค์ เนื้อหา และการประเมินผล เพื่อวางแผนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ จนถึงการวางแผนกาจัดการเรียนรู้ในแต่ละชั่วโมง

2.             หักสูตรช่วยเสริมความเป็นเอกภาพของชาติ เพราะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคนในชาติได้ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตรแม่บท และในขณะเดียวกันหลักสูตรสถานศึกษาก็ได้พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นของชุมชนโดยรอบสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาอาจได้กำหนดไว้เป็นเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไป แต่ยังตั้งอยู่บนมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรแม่บท จึงสามารถกล่าวเจาะจงลงไปได้ว่า หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างเอกภาพของชาติตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับชาติ


3.             หลักสูตรถือเป็นแผนแม่บทของสถานศึกษาในการวางแผนดำเนินงาน หรือกำหนดโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้า พัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพตามความมุ่งหวัง ถ้าสถานศึกษาไม่มีหลักสูตรก็เสมือนกับขาดเข็มทิศในการเดินเรือให้ไปถึงเป้าหมายปลายทางนั่นเอง

4.             ผลพวงที่ได้จากหลักสูตรที่มีคุณภาพและวิสัยทัศน์จะส่งผลให้ประเทศชาติจะเกิดความเจริญก้าวหน้าและสงบสุข ผลพวงดังกล่าวคือเยาวชนที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียนตามหลักสูตรกำหนดนั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า หลักสูตรเป็นตัวกำหนดสังคมในอนาคต ว่าจะเป็นในรูปแบบใด


5.             หลักสูตรที่มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมย่อมเป็นดัชนีชี้ถึงศักยภาพทางการศึกษาของชาติด้วย เพราะหลักสูตรที่ดีย่อมทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและต่อเนื่องถึงอนาคต กระจกเงาบานใหญ่ที่สะท้อนสภาพของสังคมได้อย่างดีก็คือ หลักสูตรของชาตินั้นๆ


จากความสำคัญของหลักสูตรตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ละท่าน จะเห็นว่า หลักสูตรเป็นแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสร้างและพัฒนาคน โดยหลักสูตรจะกำหนดแนวทางการให้ความรู้ ทักษะความสามารถ ความประพฤติ ที่มีประโยชน์ต่อคนในสังคม ตามแผนการพัฒนาประเทศ หลักสูตรจะสะท้อนให้เห็นพัฒนาการค้านต่างๆของประทศ ถ้าประเทศใดมีหลลักสูตรที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ บุคลากรของประเทศนั้นย่อมมีการพัฒนาในทุกๆด้าน ซึ่งจะส่งผลต่อถึงการพัฒนาประเทศในอนาคต นอกจากนี้ หลักสูตรยังเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ เป็นแนวทางและเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษาสำหรับควบคุมการเรียนการสอนในแต่ละระดับ การที่จะทราบว่ากรศึกษาในระดับต่างๆจะดีหรือไม่ดีสามารถศึกษาได้จากหลักสูตรการศึกษาในระดับนั้นๆ



หลักสูตรสถานศึกษา
 ความหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

                สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้ จึงต้องมีหลักสูตรเป็นของตนเอง คือหลักสูตรสถานศึกษาต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านหลักสูตรสถานศึกษาจึงประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลเป็นประสบการณ์อื่นๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียนซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา                           หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการ ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข 




ความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา คือ

                1. หลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการเรียนที่สำคัญๆ มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล มีโอกาสใช้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น สร้างความมั่นใจและให้กำลังใจในการเรียนรู้และเป็นบุคคลที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อบุคคลและสังคมสถานศึกษาควรต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน มีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระเข้าใจในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวม สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้ความเป็นธรรม มีความเสมอภาค มีความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับที่ตนดำรงอยู่ได้ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระบบส่วนตนระดับท้องถิ่นระดับชาติและระดับโลก


ความจำเป็นของหลักสูตรสถานศึกษา

                สถานศึกษาจำเป็นต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางที่กรมวิชาการกำหนดไว้ พระราชบัญญัติสถานศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้                           มาตรา 27 ระบุข้อความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา ในการนำหลักสูตรไปใช้โดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่า ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแนวทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ                           จะเห็นว่าในวรรคที่สอง เป็นการกำหนดแนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาจัดทำสาระของหลักสูตร จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ รวมทั้งทำหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน                        
                  (  มนนิภา ชุติบุตร. 2538 : หน้า 16 – 18) ได้เสนอแนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดังนี้                
                1.เน้นการศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจวิธีคิดและความคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น               
                2. นำกระบวนการหรือแนวคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำหลักสูตสถานศึกษา               
                3.  นำกระบวนการคิดของภูมิปัญญาชาวบ้านมาเสริมสร้างให้สอดคล้องกับแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์               
                4.  สร้างกระบวนการคิดหลายด้านหลายมุมโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระแล้วเชื่อมโยงกับชีวิตจริง                 
5. ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร                ตามหลักการของหลักสูตรนั้น หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และสนองความต้องการของสังคมที่ใช้หลักสูตรนั้นๆ
โดยเหตุนี้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมุกมุ่งหมายในการใช้ในชุมชนแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะ ก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้มากที่สุด ท้องถิ่นและชุมชนมีสภาพที่แตกต่างกัน การพัฒนาแต่ละท้องถิ่นก็ต้องมีความแตกต่างกันเทคโนโลยีเจริญเร็ว จะทำหลักสูตรระดับชาติไปใช้กับท้องถิ่นก็ไม่ทันกับความเจริญของเทคโนโลยี สถานศึกษาจึงต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเอง

องค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรสถานศึกษา ควรประกอบด้วยหัวข้อสำคัญๆ ดังนี้ 
1.  ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา    
                1.1 ประวัติของโรงเรียน ประวัติที่ตั้ง ขนาด จำนวนพื้นที่ ลักษณะ การจัดตั้ง สถานภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาที่เปิดสอน จำนวนนักเรียน ความสามารถพิเศษ จำนวนห้องเรียนและห้องปฏิบัติกิจกรรม อัตราการย้ายเข้าออกของนักเรียน    
                 1.2 ศักยภาพของสถานศึกษา จุดเด่น จุดด้อย โอกาส ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษา ความสำเร็จ ความภาภูมิใจของสถานศึกษา    
                1.3 ความต้องการของชุมชน ความต้องการเกี่ยวกับอาชีพ การศึกษาต่อ ความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   
                 1.4 แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น สภาพเศรษฐกิจของชุมชน และผู้ปกครอง สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สภาพทรัพยากร จำนวนประชากรในเขตพื้นที่บริการ   
                1.5 แนวทางการจัดการศึกษา ทิศทาง ข้อความระบุวิสัยทัศน์ กระบวนการจัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายสถานศึกษา ความสอดคล้องของวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของสถานศึกษา   
                1.6 การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการนักเรียนจำนวนครั้งเข้าร่วมในรอบปี รายชื่อคณะกรรมการที่เข้าร่วม สาระสำคัญของการประชุม โครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการ
2.  สารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน    
                2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน    
                2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์    
                2.3 ผลงานการแสดงออกของผู้เรียน
3. สารสนเทศของการบริหารงานอาชีพ     
                3.1 หลักสูตรและการเรียนการสอน จำนวนชั้นเรียน จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน เวลาเรียนแต่ละกลุ่มวิชา      
                3.2   ความสอดคล้องของหลักสูตรกับความต้องการของท้องถิ่น     
                3.3   เทคนิควิธีการสอนที่ครูนำมาใช้     
                3.4 ร้อยละของรายวิชาที่ปรับสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน                  
                3.5   การมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน       
                3.6   บรรยากาศการเรียนการสอน    
                3.7   การวัดและประเมินผลการเรียน             
                                3.7.1ความถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบันเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานการประเมินผลการเรียน            
                                 3.7.2   ความหลากหลายในวิธีการและการใช้เครื่องมือการประเมิน             
                                3.7.3   การมีส่วนร่วมในการวางแผนวัดและประเมินผลการเรียน             
                                3.7.4   การนำผลการวัดและการประเมินผลการเรียนไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน     
                3.8  การพัฒนากิจกรรมแนะแนว            
                                3.8.1   สภาพการจัดบริการแนะแนว             
                                3.8.2   ผลการจัดบริการแนะแนว     
                3.9  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน             
                                3.9.1   การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน             
                                3.9.2   ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  
4. สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ     
                4.1 สภาพการบริหารและการจัดการ       
                                4.1.1 ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายการพัฒนา ความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายรายงานกระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์การกำหนดภารกิจและเป้าหมาย  
                                 4.1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากับวิสัยทัศน์และภารกิจ ข้อความเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายการพัฒนา แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา รายงานผลความสำเร็จของการดำเนินการตามแผน
               4.1.3 ภาวะผู้นำและการบริหาร ข้อมูลที่ที่แสดงการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลและการตัดสินใจ ข้อมูลแสดงการสับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ตามวาระ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความพึงพอใจในการบริหารจัดการ 
                4.1.4 การจัดโครงสร้างองค์กร ข้อมูลการจัดบุคลากรตามหน้าที่การยอมรับในหน้าที่และความรับผิดชอบในการได้รับมอบหมาย ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่ของบุคลากรในสถานศึกษ
                4.2   สภาพและบรรยากาศโดยเรียนรู้   
                                4.2.1  การมาเรียนของนักเรียนในแต่ละภาค 
                                 4.2.2  ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา 
                                4.2.3   การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในโรงเรียน
                4.2.4   สภาพการจัดแหล่งการเรียนรู
                                4.2.5   การใช้เทคโนโลยีในแต่ละประเภท   
                4.3   ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก              
                                4.3.1   สัดส่วนและงบประมาณพัฒนาคุณภาพแต่ละระดับการศึกษา              
                                4.3.2   งบประมาณการศึกษาต่อคนต่อปีแต่ละระดับการศึกษา              
                                4.3.3   ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา              
                                4.3.4   การใช้งบประมาณตามแผน              
                                4.3.5   การบริหารงบประมาณ  
                4.4   การพัฒนาวิชาชีพ          
                                 4.4.1   ร้อยละของครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียน          
                                4.4.2   จุดเน้นของการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนในรอบปี         
                                4.4.3   ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการประชุมอบรม         
                                4.4.4   ผลงาน เกียรติบัตร รางวัลที่ครู ผู้เรียนได้รับในรอบปี        
                                4.4.5   ร้อยละของบุคลากรที่จัดทำแฟ้มพัฒนางาน        
                                4.4.6   ร้อยละของจำนวนครูที่ได้รับการนิเทศแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้        
                4.5   ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน       
                                4.5.1   การเปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม    
                                 4.5.2   การรับการสนับสนุนตามการศึกษาจากหน่วยงานอื่น      
                                4.5.3   การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน



การเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร

1. การเตรียมความพร้อมด้านเอกสารประกอบหลักสูตร

กระทรวงศึกษาธิการ(2534) ได้เขียนในคู่มือหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ว่า เอกสารหลักสูตรที่บอกแนวทางในการจัดการศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุเป้าหมาย กรมวิชาการเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ดังนี้ คู่มือครู แนวการสอน คู่มือแนวการประเมินผลการเรียน และคู่มือการจัดกิจกรรมลูกเสือเนตรารี-ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร 6 รายการ เพื่อสถานศึกษานำไปใช้เป็นแนวทางประกอบการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนได้ตรงตามจุดหมาย และเจตนารมณ์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่
1.             แนวทางการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา
2.             คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3.             คู่มือการบริหารจัดกรแนะแนว
4.             คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้
5.             แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
6.             การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้นฐาน

ดังนั้นก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้ทางโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องมีการจัดเตรียมเอกสารประกอบหลักสูตรต่างๆนี้ให้ครบถ้วน เพื่อจัดไว้ให้ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ได้ศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจกับแนวทางต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้เป็นแนวทางเดียวกัน



2.การเตรียมความพร้อมด้านบุลากร

                สงัด อุทรานันท์ (2529) กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเป็นงานที่สำคัญมาก ก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้ควรจะได้ให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรผู้ใช้หลักสูตรให้เข้าใจ จุดหมาย หลักการ โครงสร้างแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ซึ่งการเตรียมบุคลากรควรประกอบด้วย
 1)การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมาย โรงเรียนควรจะได้มีการเตรียมครูก่อนเข้าชั้น ดังนี้
(1) จัดประชุม ชี้แจงหลักสูตร แผนการสอน กิจกรรมที่จะใช้ในการสอนแต่ละระดับให้เปที่เข้าใจ
(2) จัดสัมมนาให้ความรู้ทางด้านวิชาการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักสูตร หลักการสอน แผนการสอนเนื้อหาวิชาและกิจกรรมที่จะใช้สอน
(3) จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อให้มีความเข้าใจ มองเห็นปัญหา เตรียมการแก้ปัญหาเพื่อให้ครูมีความมั่นใจในการสอน
(4) จัดให้มีการสาธิตการสอน จัดอุปกรณ์การสอน จัดตารางสอนร่วมกัน ผลัดเปลี่ยนกันดูการสาธิต ให้ข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
(5) จัดศึกษานอกสถานที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้มีประสบการณ์มากขึ้น จากการศึกษาดูงานโรงเรียนอื่นๆ ศึกษาสภาพแวดล้อมท้องถิ่นเพื่อทราบถึงสภาพปัญหาท้องถิ่น เพื่อนำมาสอนให้ตรงกับความเป็นอยู่ของเด็กในท้องถิ่นนั้นๆด้วย
(6) รวบรวมอุปกรณ์และแหล่งวิชาการ ตลอดจนวิทยากรต่างๆ ในทุกๆด้านที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนได้
2)การจัดครูเข้าสอน
                กรมสามัญศึกษา (2526) ให้ความหมายของการจัดครูเข้าสอนว่า การจัดและดำเนินการเกี่ยวกับการสรรหาและกลวิธีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และประสบการณ์ รวมทั้งสมารถพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบต่องานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้วางแนวทางในการจัดครูเข้าสอนไว้ดังนี้
(1)       สำรวจความพร้อมของโรงเรียนก่อนเปิดเรียน
(2)       กำหนดคุณสมบัติของครูผ้สอนรายวิชาในแผนการเรียน
(3)       จัดตามความถนัดของครูผู้สอน (จัดตามวิชาเอก วิชาโท ตามความสนใจ ความสามารถ หรือตามรายวิชาที่มีประสบการณ์)
(4)       การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดยจัดครูคนเดียวให้สามารถสอนได้หลายวิชา จัดครูสนับสนุนการสอนช่วยปฏิบัติการ หรือจัดคาบเรียนให้ตรงกัน เป็นต้น
(5)       จัดหาบุคลากรภายนอกมาช่วยสอนในโรงเรียน
(6)       จัดครูสอนแทนเมื่อครูไม่มาทำการสอน
3)การจัดตารางสอน ควรยึดหลักดังนี้
                การจัดตางสอน ไม่ควรให้ช่วงเวลาเท่ากันหมด เพราะครูจะต้องใช้เทคนิควิธีสอนหลายๆแบบตามความเหมาะสม และต้องฝึกกระบวนการ ต้องศึกษากำหนดการสอนในแต่ละช่วงเวลาซึ่งต้องมีการเรียนการสอนหลายๆเรื่องจากประสบการณ์ต่างๆ ให้มีการเรียนการสอนที่ต้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันให้เหมือนกับชีวิตจริง
(1)       จัดช่วงเวลาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนจของผู้เรียน
(2)       จัดช่วงเวลาให้มีโอกาสฝึกทักษะหลายๆช่วง และฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้การฝึกทักษะนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว
(3)       กำหนดวันเปิด-ปิด ภาคเรียนในปีหนึ่งๆให้มีเวลาเรียนตลอดปีไม่น้อยกว่า 200 วัน แล้วจัดตารางสอนให้สัมพันธ์กัน
(4)       จัดช่วงเวลามากน้อยตามความเหมาะสม

3.การเตรียมความพร้อมด้านสื่อการสอน

                บรรจง พงศ์ศาสตร์ (2534) ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากหลักสูตรมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนรู้จักคิด มีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติ ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ มีนิสัยรักการอ่าน และสนใจหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ในการเรียนการสอนผู้สอนควรใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิด เช่น หนังสือ เทป แผ่นโปร่งใส วีดีโอ แหล่งวิยากร แหล่งทรัพยากรต่างๆ และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากหนังสือหลายๆเล่ม หรือศึกษาจากบุคคลที่มีความรู้ด้านต่างๆ
                กรมสามัญศึกษา (2534) ได้เสนอแนะแวทางให้ผู้บริหารได้พิจารณาจัดบริการอุปกรณ์การสอน ดังนี้
1)            การจัดศูนย์บริการโสตทัศนอุปกรณ์เพื่อบริการสายวิชาต่างๆ
2)            จัดแหล่งวัสดุปกรณ์ตามลักษณะวิชานั้นๆ
3)            การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันมัย และปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์ทีมีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้อยู่เสมอ
4)            การสำรวจวิเคราะห์ความต้องการวัสดุอุปกรณ์ในรายวิชาต่างๆ
5)            การฝึกอบรมครูประจำการให้ความรู้ ทักษะในการใช้และบำรุงรักษา สื่อวัสดุ อุปกรณ์
6)            กระตุ้นให้ครูสนใจในการใช้วัสดุอุปกรณ์การสอนให้มากยิ่งขึ้น
4. การเตรียมความพร้อมด้านการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
                ธำรง บัวศรี(2542) ได้กล่าวไว้ว่า ในการนำหลักสูตรไปใช้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ต้องมีการเตรียมการในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
1)            การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแจกเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ การใช้สื่อมวลชน การประชุมสัมมนา เป็นการบอกกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคืออะไร จะมีประโยชน์อย่างไร และจะมีผลกระทบต่อบทบาทหน้าที่ขงเขาอย่างไร
2)            การเตรียมบุคลากร ได้แก่ ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา
(1)       การเตรียมครูผู้สอน ครูผู้สอนเป็นผู้นำเอาหลักสูตรไปใช้ในห้องเรียนกับผู้เรียนจริงๆ ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องเตรียมรูให้พร้อมทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร ทักษะในกรใช้หลักสูตร และเจตคติที่พึงมีต่อหลักสูตร การเตรียมครูผู้สอนอาจทำได้หลายวิธี เช่น การจัดประชุมสัมมนา การอบรม การประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น
(2)       การเตรียมผู้บริหาสถานศึกษา ผู้บริหารเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดครูผู้สอน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในหลักสูตรให้มาก เพราะเป็นผู้ที่ควบคุมกำกับ แนะนำและส่งเสริมครูให้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การเตรียมผู้บริหารต้องทำทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจหลักสูตร และในด้านการวิเคราะห์ว่าความรู้ความสามารถ ทักษะและเจตคติที่ครูมีอยู่แล้วนั้นเหลื่อมล้ำกันมากน้อยเพียงใด และจะขจัดส่วนที่แตกต่างกันได้อย่างไร
(3)       การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เครื่องมืออุปกรณ์และอาคารสถานที่หลักสูตรใหม่ย่อมต้องการสิ่งใหม่ๆหลายอย่าง ดังนั้นจะต้องมีการจัดหาไว้ให้พร้อม โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและท้องถิ่น
(4)       การเตรียมระบบบริหารของสถานศึกษา ตลอดจนระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน หรือสถานศึกษาที่มีใช้อยู่นั้น  ช่วยในการใช้หลักสูตรคล่องตัวหรือไม่ ถ้ามีอะไรติดขัดไม่สะดวกก็ควรแก้ไข
(5)       การเตรียมงบประมาณค่าใช้จ่าย ปัญหาในการวางแผนงบประมาณก็คือ จะใช้อย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
(6)       การเตรียมชุมชนและสังคม การที่ชุมชนและสังคมจะสนับสนุน ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจและตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของหลักสูตร จึงต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและถูกต้องเหมาะสม
จาการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร เป็นการเตรียมการในด้านต่างๆของโรงเรียนเพื่อให้การนำหลักสูตรไปใช้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรนั้นๆ ซึ่งอาจเตรียมความพร้อมในด้านการประชาสัมพันธ์ หลักสูตร บุคลากร สื่อ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ระบบบริหารของสถานศึกษา งบประมาณ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และชุมชน/ท้องถิ่น


สภาพและปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร

1.  สภาพและปัญหาในการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร
                1.  สภาพการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร
                โรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย  ส่วนใหญ่มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตร  โดยการประชุมชี้แจงให้แก่คณะครู  นักเรียนผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ   เกี่ยวกับนโยบายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   การจัดการเรียนการสอน  ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน  และยังประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยใช้วิทยุกระจายเสียง  แผ่นพับ  จัดทำเป็นวารสาร  ส่วนการเตรียมบุคลากรนั้นได้ให้ครูและผู้บริหารเข้ารับการอบรม  นอกจากนี้แล้วยังมีการเตรียมด้านอาคารสถานที่    โดยมีการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่แล้วให้อยู่สภาพที่ดีด้วยการทาสีใหม่  ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด  นอกจากนั้นยังได้ทำสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ดูสวยงาม  สะอาด  เป็นระเบียบ  และร่มรื่น  เช่น  มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  และการจัดสวนย่อมหน้าอาคารเรียน  จัดตั้งตะเก้าอี้สำหรับนั่งพักผ่อนไว้ตามใต้ต้นไม้ใต้อาคารเรียน
                2.  ปัญหาในการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร  สรุปๆได้ดังนี้
                1)  ครู  นักเรียน  ไม่มีความพร้อมและปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้  นอกจากนี้ผู้ปกครองยังไม่เห็นความสำคัญและยังไม่มีความรู้  ความเข้าใจเทาที่ควร
                2)  หน่วยงานต้นสังกัด  ไม่มีงบประมาณที่สนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร
                3)  ครูผู้สอนมีเวลาจำกัดในการศึกษาทำความเข้าใจกับเนื้อหาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2544 
          4)  ครูผู้สอนบางส่วนยังไม่ได้รับการอบรมการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2544 
จึงทำให้บุคลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจไม่ตรงกัน
                5)  การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานย่อยและหน่วยงานต้นสังกัดไม่เป็นระบบจึงทำให้ได้รับข่าวสารต่าง ๆ   เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตรล่าช้า

                                2.  สภาพและปัญหาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                1.  สภาพการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
          หลังจากได้รับการอบรมการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544  แล้วโรงเรียนก็ได้เริ่มจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  ในช่วงเดือนเมษายน  พ.ศ. 2545  เพื่อจะนำไปใช้ในปีการศึกษา 2545  โดยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานที่โรงเรียนปฏิบัติ  ดังต่อไปนี้
                                1)  แต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา  และคณะกรรมการและอนุกรรมการประจำกลุ่มสาระเพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                                2)  การประชุมปฏิบัติการระหว่างคณะครู  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ  เป้าหมายของสถานศึกษา  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                3)  ผู้บริหารและครูประชุมร่วมกันอีกครั้งเพื่อกำหนดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา  ประกอบด้วย  สาระการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชา  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กำหนดเวลาของแต่ละกลุ่มสาระ  แล้วแบ่งหน้าที่ให้ครูรับผิดชอบ  ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็น 8 กลุ่มสาระกับ 1  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                                4)  คณะครูที่รับผิดชอบแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกันคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อจัดทำสาระของหลักสูตร  ประกอบด้วยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค  กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค  กำหนดเวลาและจำนวนหน่วยกิจ จัดทำคำอธิบายรายวิชา  หน่วยการเรียนรู้  และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้             การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  และจัดทำสื่อการเรียนรู้
                                5)  พัฒนาและนำไปใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                                6)  นำเสนอร่างหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา
                2.  ปัญหาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  สรุปได้ดังนี้       
                                1)  มีระยะเวลาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาน้อยเกินไป  ทำให้ได้หลักสูตรสถานศึกษาที่มีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขอยู่มาก
                                2)  ครูผู้สอนไม่มีความเข้าใจในการทำแผนจัดการเรียนรู้แบบใหม่
                                3)  เนื้อหาในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้มีมากเกินไป  ไม่เป็นไปตามลำดับความยากง่าย
                                4)  ครูผู้สอนไม่มีเวลาสำรวจหาแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
                                5)  สถานศึกษาไม่มีความเข้าใจในการจัดทำหลักเกณฑ์  และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผล  ตลอดจนการจัดทำเอกสารการประเมินผลการเรียนรู้ต่าง ๆ

                                3.  สภาพและปัญหาในการดำเนินการใช้หลักสูตร
          1.  สภาพการดำเนินการใช้หลักสูตร
                                1)  ด้านการจัดการเรียนรู้  ครูผู้สอนจากโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนครือข่ายส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยครูผู้สอนคอยให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน  นอกจากนั้นยังผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด  ส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม  และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ออกไปแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในโรงเรียนและท้องถิ่น  นอกจากนี้ครูผู้สอนได้สอนแบบบูรณาการทั้งภายในกลุ่มสาระเดียวกันและต่างกลุ่มสาระ
                                2)  ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้  ส่วนใหญ่ครูผู้สอนเป็นผู้ผลิตขึ้นเอง  มีบางส่วนที่ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันจัดทำขึ้น  โดยสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่ประยุกต์มาจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  บางเนื้อหาก็ได้ใช้ห้องปฏิบัติการที่มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
                                3)  ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ครูส่วนใหญ่ใช้หลายวิธี  เช่น  การตรวจผลงาน  การสังเกตพฤติกรรม  การทดสอบ  และการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
                2.  ปัญหาในการดำเนินการใช้หลักสูตร  สรุปได้ดังนี้
                                1)  ไม่มีหนังสือเรียน และเอกสารคู่มือครูที่ต้องใช้ประกอบการเรียนการสอน  เนื่องจากสถานศึกษาจัดทำหลักสูตรขึ้นเอง  จึงยังไม่มีหนังสือเรียนที่สอดคล้องกับหลักสูตรดังกล่าว
                                2) ครูผู้สอนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่  โดยเฉพาะแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  ตลอดจนไม่มีความรู้  ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
                                3)  ไม่มีเวลาในการเตรียมการสอน  เตรียมสื่อการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
                                4)  การจัดการเรียนรู้ที่มีการหมุนเวียนสอนเป็นกลุ่มสาระ  ทำให้ผู้เรียนขาดระเบียบวินัย
                                5)  ไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อสื่อวัสดุเทคโนโลยีใหม่ๆ
                                6)  ครูยังไม่เข้าใจในการกรอกข้อมูลและข้อกำหนดของเอกสารประเมินผลตามหลักสูตร
          3.  ปัญหาด้านครู
1)  ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวหลักสูตร และขาดหลักสูตรกับเอกสารประกอบหลักสูตร  เช่น  คู่มือการใช้หลักสูตร  ฯลฯ  ทำให้การสอนของครูไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
2)  ครูไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร  ยังคงยึดวิธีการสอนแบบ  ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลาง  ในการสอน
3)  ครูไม่มีเวลาศึกษาหลักสูตรก่อนสอน
                4.  ปัญหาด้านผู้บริหาร
                                1)  ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรน้อย  ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีเท่าที่ควร
                                2)  ผู้บริหารไม่มีความรู้ความสามารถในการนิเทศและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรแก่ครู  และนิเทศได้ไม่ทั่วถึงและไม่ต่อเนื่อง
                                3)  ผู้บริหารไม่ให้การสนับสนุนการใช้หลักสูตรของคณะครู  เช่น  การจัดหาเอกสารหลักสูตร  ประเภทต่าง ๆ  และการจัดหาจัดทำวัสดุ  อุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอต่อความต้องการของครู  การจัดครูเข้าสอนไม่เหมาะสม  การไม่ได้สนับสนุนพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนเป็นต้น
                5.  ปัญหาด้านหน่วยงานส่วนกลาง   ระดับจังหวัด  และระดับอำเภอ
                                1)  ส่งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรล่าช้า  และไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียน
                                2)  ขาดการประชาสัมพันธ์หลักสูตร  โดยเฉพาะกับผู้ปกครอง  ทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ  เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
                                3)  ขาดงบประมาณที่จะใช้สนับสนุนการใช้หลักสูตร
                                4)  การฝึกอบรมให้ความรู้  และทักษะเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้แก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังไม่ทั่วถึง และไม่ตรงกับความต้องการของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง


บรรณานุกรม

ใจทิพย์  เชื้อรัตนพงษ์.  การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ .กรุงเทพฯ:
            อลีน เพส.2539
ธำรง  บัวศรี.  ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์            ,2542.
บุญมี   เณรยอด.  หลักการพัฒนาหลักสูตร. ภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะครูศาสตร์           จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
พิสมัย  ถีถะแก้ว.  หลักสูตรประถมศึกษา.  กรุงเทพฯ : ฝ่ายเอกสารและตำราสถาบันราช      ภัฏสวนดุสิต.2537.
สันต์  ธรรมบำรุง.  หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร.  กรุงเทพฯ : เกรียงศักดิ์การพิมพ์.        2525.
นิติพร  อินทรสิทธิ์.  สภาพและปัญหาในการใช้หลักสูตรหารศึกษาขั้นพื้นฐาน           พุทธศักราช 2544  ของโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย  สังกัดสำนักงาน     การประถมศึกษา  จังหวัดสกล.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2546. 

.................................................